วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเคลื่อนที่แบบวงกลม (Circular Motion)



ฟิสิกส์ 1    อ.มรกต แสนกุล
 
การเคลื่อนที่แบบวงกลม  (Circular Motion)

วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม บนระนาบใดๆ อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่งของวัตถุจะคงที่หรือไม่ก็ได้ แต่ความเร็วของวัตถุไม่คงที่แน่นอน เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนทิศาทางของการเคลื่อนที่ ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อวัตถุที่มีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่แสดงว่า วัตถุนี้ต้องมีองค์ประกอบของแรงมากระทำในทิศทางที่ตั้งฉากกับเส้นทางการเคลื่อนที่ด้วย และกรณีที่การเคลื่อนที่มีอัตราเร็วไม่คงที่ แสดงว่าต้องมีองค์ประกอบของแรงในทิศทางที่ขนานกับแนวการเคลื่อนที่ด้วย พิจารณา รูป
การเคลื่อนที่แบบวงกลมจัดเป็นหนึ่งในการเคลื่อนที่แบบ 2 มิติ ในการเคลื่อนที่เป็นวงกลมที่
จะทำการศึกษานั้น ความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมจะมีค่าคงที่หรือเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ เรียกการเคลื่อนที่วงกลมแบบนี้ว่า การเคลื่อนที่เป็นวงกลมสม่ำเสมอ (Uniform Circular Motion)
การเคลื่อนที่เป็นวงกลม ลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุจะมีแรงกระทำตั้งฉากกับเวกเตอร์ความเร็วเสมอตลอดการเคลื่อนที่ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในแนววงกลม แต่ยังคงมีความเร่งเกิดขึ้น ซึ่งความเร่งจะขึ้นกับการเปลี่ยนเวกเตอร์ความเร็ว ซึ่งเวกเตอร์ความเร็วจะมีทิศสัมผัสกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุและมีทิศตั้งฉากกับแนวรัศมีวงกลม เรียกความเร่งชนิดนี้ว่า ความเร่งแนวสัมผัสวงกลม ( aT) เวกเตอร์ความเร่งในการเคลื่อนที่แบบวงกลมจะมีทิศตั้งฉากกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุและมีทิศพุ่งเข้าสู่จุดศูนย์กลางวงกลมเสมอ เราเรียกความเร่งนี้ว่า ความเร่งสู่ศูนย์กลาง  (ac )


คาบ (T) คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หรือ วินาทีต่อรอบ (s)
ความถี่  (f) คือ จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา หรือ รอบต่อวินาที  (Hz)
 
                                                      


อัตราเร็วเชิงเส้น (v) คือ ระยะทางตามแนวเส้นรอบวงของวงกลมที่วัตถุเคลื่อนที่ได้
                                       ในหนึ่งหน่วยเวลา ( m/s)
 
 



อัตราเร็วเชิงมุม () คือ มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่รัศมีกวาดไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลา
                                  (เรเดียน/วินาที )  rad/s
 
 




ความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centripetal Acceleration)  ac คือ ความเร่งเนื่องจากการเคลื่อนที่แบบวงกลม
 
                                                                                                มีขนาดคงที่ และมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางเสมอ
                                                                                                 เมื่อ R= รัศมีการเคลื่อนที่ในแนววงกลม (m)


แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centripetal Force)  Fc  คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลม
 
                                                                             มิทิศเดียวกับทิศของความเร่ง
                                                                             เมื่อ m = มวลวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม (kg)
หลักการคำนวณเรื่องการเคลื่อนที่แบบวงกลมแบบต่าง ๆ
1.             เขียนระนาบกลมขณะที่วัตถุกำลังหมุน
2.             เขียนแรงที่กระทำต่อวัตถุ แล้วแตกแรงทั้งหมดให้อยู่ในแนวสู่ศูนย์กลางวงกลม และแนวตั้งฉากกับแนวสู่ศูนย์กลาง
3.             ในแนวสู่ศูนย์กลาง หาแรงลัพธ์ที่ทีทิศทางพุ่งเข้าสู่ศูนย์กลาง แรงนี้จะทำหน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง
ในแนวตั้งฉากกับระนาบวงกลมนี้ ถือว่าสมดุล   ในแนวนี้เท่ากับศูนย์

เมื่อระบบของวงกลมวางอยู่ในแนวระดับ
วัตถุผูกเชือก แกว่งเป็นวงกลมบนโต๊ะระดับผิวเกลี้ยง

หาความเร็วเชิงมุมได้จาก       

หาความเร่งสู่ศูนย์กลางได้จาก   

หาแรงสู่ศูนย์กลางได้จาก   

ดาวเทียม                                                    
V
 
  น้ำหนักดาวเทียมลงสู่โลก เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง
                                                                                                mg = แรงสู่ศูนย์กลาง
                                                                                                 mg =
                                                                หรื
mg
 
                                                                                               




การเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวราบ แบบกรวยคว่ำ
เส้นเชือกเบายาว L ปลายข้างหนึ่งติดวัตถุมวล m อีกปลายหนึ่งตรึงแน่นแกว่งให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวราบ รัศมี R
ขณะที่มวล m เคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวราบ ได้รับแรงกระทำ 2 แรงคือ แรงตึงเชือก(P) และน้ำหนักของวัตถุ (mg) แตกแรง P เข้าสู่แนวราบและแนวดิ่ง แรง P  ในแนวราบ =  ทิศสู่ศูนย์กลาง
ดังนั้น
แรง P ในแนวดิ่ง =   ทิศขึ้น
วัตถุไม่มีการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในแนวดิ่ง
ดังนั้น
 
   


ค่าของมุม  ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วเชิงเส้น V ไม่ขึ้นอยู่กับมวล เมื่ออัตราเร็วเพิ่มขึ้น ค่าของมุม
ก็จะเพิ่มขึ้นแต่มุม  จะไม่มีโอกาสเท่ากับ 90 องศา
จากรูป                   
จาก                 
จากสมการ
       คาบการแกว่ง                   
การเคลื่อนที่บนทางโค้ง
การเคลื่อนที่บนทางโค้งในแนวราบ
การที่วัตถุหรือรถจะเลี้ยวโค้งต้องมีแรงสู่ศูนย์กลางเสมอ ในขณะที่รถเลี้ยวโค้งแรงสู่ศูนย์กลางที่กระทำต่อรถก็คือ แรงเสียดทานนั่นเอง โดยแรงเสียดทานมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางในขณะที่รถเลี้ยวโค้ง
การหาความเร็วที่พอดีทำให้รถเลี้ยวโค้งได้
รถจะเลี้ยวโค้งได้ด้วยความเร็วมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรัศมี(R) วงกลมของทางโค้ง และมุม () ที่รถเอียงจากแนวดิ่ง ถ้า R และ  มีค่ามาก รถจะเลี้ยวโค้งได้ด้วยความเร็วสูง
 


 = มุมที่รถเอียงจากแนวดิ่ง
R = รัศมีวงกลมของทางโค้ง
 = ส.ป.ส. ของแรงเสียดทานระหว่างล้อกับถนน









การเคลื่อนที่เป็นทางโค้งบนถนนลื่นเอียงทำมุม  กับแนวระดับ
ในกรณีทางโค้งนิยมยกขอบด้านนอกให้สูงกว่าด้านใน เพื่อช่วยทำให้เกิดแรงสู่ศูนย์กลางโดยไม่ต้องอาศัยแรงเสียดทาน

ความเร็วพอดีกับมุมที่ยกขึ้น หาได้ดังนี้
   = มุมที่ผิวถนนกระทำต่อพื้นราบ
  v  = อัตราเร็วที่พอดีกับมุมที่ยกผิวถนน
  R = เป็นรัศมีความโค้ง
  g = ความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง
 
จะได้                     
 
 


                               

การเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวดิ่ง
ข้อแตกต่างของการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบดิ่งกับระนาบระดับคือระนาบระดับขนาดของความเร็วคงที่ แต่ระนาบดิ่งจะมีความเร่ง g มามีผลต่อความเร็วทำให้ขนาดของความเร็วเปลี่ยนแปลงไป
 จากรูป  เมื่อขณะใด ๆ จะมีแรงอย่างน้อย 2 แรงกระทำต่อวัตถุ m ตลอดเวลา คือ
1.             แรงเนื่องจากน้ำหนักวัตถุ W = mg
2.             แรงดึงในเส้นเชือก  = T



ตามแนวรัศมี
ตามแนวสัมผัส
ความเร่งตามแนวสัมผัส 
 
ความเร่งตามแนวรัศมี          
แต่                         
                                                               
หา v ได้                               
 
                                               

โปรดสังเกต
(1)       ที่จุด A ซึ่งเป็น จุดต่ำสุด (bottom)
มุม

(2)       ที่จุด B ซึ่งเป็น จุดสูงสุด (top)
มุม
                              
               นั่นคือที่สูงสุด แรงดึงในเส้นเชือกจะมีค่าน้อยที่สุด และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อวัตถุกำลังเคลื่อนที่ลงมาและแรงดึงจะมีค่ามากที่สุดเมื่อวัตถุอยู่ต่ำสุด
(3)       ที่จุดสูงสุด ถ้าเราสามารถจัดความเร็วของวัตถุให้พอดีที่ทำให้แรงดึงในเส้นเชือกเท่ากับศูนย์ เชือกจะอยู่ในสภาพไร้แรงดึง เราเรียกความเร็วขนาดนี้ เรียกว่า ความเร็ววิกฤต



กฎของนิวตันกับแรงโน้มถ่วง
ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบวงกลมที่น่าสนใจที่สุด เป็นการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งพัฒนา มาเป็นเวลายาวนาน ก่อนการค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แต่ก็ประสบกับความลำบาก เพราะ การทำนายและคาดการณ์ล่วงหน้าไม่มีความแม่นยำเป็นเวลานับศตวรรษ แต่หลังจากการค้นพบของนิวตัน ปรากฏว่าการคำนวณตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลมีความถูกต้องแม่นยำ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กุญแจความสำเร็จมี 2 ดอก คือ กฎทั้ง 3 ข้อของนิวตัน และ กฎความโน้มถ่วงสากล
แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์มี ขนาดเท่ากันแต่ทิศตรงข้ามกัน
ดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ นิวตันสามารถคำนวณหาแรงดึงดูดระหว่างมวล ได้จากสมการ
 
 

                                                                                                ...................................... (1)

m1 และ m2 คือมวลของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์
R คือระยะทางระหว่างจุดศูนย์กลางมวลทั้งสอง
G คือค่านิจโน้มถ่วงสากล เป็นค่าคงที่ = 6.673×10-11 Nm2kg-2
กฎแรงคู่กิริยาและปฏิกิริยาบอกให้เราทราบว่า ดาวเคราะห์จะออกแรงดึงดูดดวงอาทิตย์ (F) เท่ากับแรงปฏิกิริยาที่ดวงอาทิตย์ดึงดูดดาวเคราะห์ ( F )เขียนเป็นสมการได้ว่า
-F =  F
 
สมการ (1) ใช้ได้กับมวลทุกประเภทในจักรวาล ดังนั้น นิวตันถึงเรียกสมการของเขาว่า กฎแรงโน้มถ่วงสากล ถ้าวางทรงกลม มวล m และ M ให้ระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางมวลเท่ากับ R แรงดึงดูดที่เกิดขึ้นระหว่างมวลจะเขียนได้เป็น                                                …………………….(2)
                                            
แรงนี้เป็นแรงคู่กิริยาและปฏิกิริยา แรงที่มวล M กระทำกับมวล m จะมีขนาดเท่ากับแรงที่มวล m กระทำกับมวล M แต่ทิศตรงกันข้ามกัน

การโคจรของดาวเคราะห์
                เคปเลอร์(Kepler) ได้ตั้งเป็นกฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ขึ้นโดยแยกเป็น 3 ข้อ ดังนี้คือ
กฏข้อที่ 1 กฏแห่งทางโคจรรูปวงรี
                เคปเลอร์ได้ศึกษาทางโคจรของดาวอังคารพบว่าดาวอังคารโคจรรูปวงรี โดยมีดวงอาทิตย์เป็นตำแหน่งของจุดโฟกัสจุดหนึ่ง เคปเลอร์จึงสรุปตั้งเป็นกฏว่า
                ถ้าจะหา

กฏข้อที่ 2 กฏแห่งพื้นที่
                เคปเลอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับเส้นทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ แล้วสามารถบอกอัตราเร้วของโลกในเวลาต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจากสมมติฐานที่เขาตั้งไว้ ซึ่งเขาสรุปเป็นกฏได้ว่า
                ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เส้นตรงที่ลากจากดวงอาทิตย์ไปยังดาวเคราะห์นั้นจะกวาดไปเป็นพื้นที่เท่ากันภายในช่วงเวลาเท่ากัน

กฏข้อที่ 3 กฏแห่งคาบ
                กำลังสองตามการโคจรของดาวเคราะห์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังสามของรัศมีเฉลี่ยของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์

แบบฝึกหัด
1.ดวงจันทร์หมุนรอบโลกครบรอบใช้เวลา 27.3 วัน สมมติให้วงโคจรเป็นวงกลมมีรัศมีความโค้ง
   3.82x108 เมตร  จงคำนวณหาขนาดของความเร่งของดวงจันทร์เข้าสู่โลก
 
2.อนุภาคกำลังเคลื่อนที่เป็นส่วนโค้งของวงกลมด้วยรัศมี  3.64   เมตร  ณ จุดเวลา  อนุภาคมี
   ความเร็วเชิงเส้นสัมผัส  17.4  เมตร/วินาที   และมีความเร่งในทิศทาง 22.0°  จากแนวเข้าสู่
   จุดศูนย์กลาง  จงหา 
                (a)  อัตราเร่งในแนวเส้นสัมผัสทางเดิน
                (b)  ขนาดของความเร่ง







3.นักแข่งจักรยาน ปั่นจักรยานด้วยอัตราเร็ว 10.0 m/s ในสนามแข่งวงกลม ที่มีระยะทางรอบสนาม
   150.0 m
a)             มีความเร่งสู่ศูนย์กลางเท่าไร
b)             นักแข่งจักรยาน ปั่นจักรยานด้วยอัตราเร็วเท่าไรในสนามเดิม จึงจะมีความเร่งสู่ศูนย์กลางเท่ากับความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก
 
4.ล้อหมุนสายพานขนาดรัศมี 25 cm หมุนด้วยความถี่ 20 Hz สายพานจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว
   เท่าไร





5.รถคันหนึ่งวิ่งเป็นบนถนนวงกลมรัศมี 45 เมตร ถ้าสัมประสิทธ์ความเสียดทานสถิตระหว่างล้อ
   กับถนน คือ 0.82 จงหาความเร็วที่รถสามารถเลี้ยวโค้งได้โดยไม่แหกโค้ง
6.ถ้าทางโค้งเอียงทำมุม กับแนวระดับ และถนนไม่มีแรงเสียดทาน รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
   v =11.1 m/s จงหามุม ที่เหมาะสม ทำให้รถไม่ลื่นไถล
7. ลูกตุ้มมวล 0.1 กิโลกรัม ผูกกับเชือกยาว 1 เมตร แกว่งไปมาในแนวดิ่ง ขณะที่เชือกกำลังทำมุม  
    = 30 องศากับแนวดิ่ง ลูกตุ้มมีความเร็ว 2 เมตร/วินาที จงหา
) ความเร่งในแนวรัศมีและความเร่งในแนวสัมผัสเส้นทางการเคลื่อนที่แบบวงกลม
) ขนาดและทิศทางของความเร่งลัพธ์

8.เหรียญ 2 อัน มวล 8.0 g เท่ากัน วางห่างกัน 200 cm จงหาอัตราส่วน F/W ให้ F เป็นแรงดึงดูดของเหรียญ และ w เป็นน้ำหนักของเหรียญแต่ละอัน